ขายฝากบ้านพร้อมที่ดิน

วันนี้เราจะมาแนะนำขั้นตอนการขายฝากบ้านพร้อมที่ดิน ให้ผู้ที่สนใจได้มาศึกษา และทำความรู้จักกัน ด้วยความที่เป็นการทำนิติกรรมสำคัญ การดำเนินทุกขั้นตอนให้ถูกต้องตามกฎหมายมีเอกสารและหลักฐานประกอบชัดเจน จัดเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก  ถ้าพร้อมแล้วมาศึกษาก่อนที่จะไปทำนิติกรรมรูปแบบนี้กันเลย 

ขั้นตอนการ ขายฝากบ้านพร้อมที่ดิน 5 ขั้นตอน  

มาดูขั้นตอนการขายฝากบ้านพร้อมที่ดิน แบบถูกกฎหมายใน 5 สเต็ปนี้กันเลย   

  1. ลงทะเบียนขายฝากที่ดิน กับบริษัทที่คุณสนใจ  
  1. รอรับการแจ้งผลการประเมินว่า ผ่านหรือไม่ 
  1. เลือกข้อเสนอที่เหมาะสมกับคุณมากที่สุด  
  1. ทำสัญญา ขายฝากบ้านพร้อมที่ดิน ณ กรมที่ดิน   
  1. ก่อนที่จะจรดปลายปากกาเซ็นสัญญาใด ๆ ให้คุณอ่านรายละเอียดในสัญญาให้ครบถ้วนและเข้าใจเสียก่อน และทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดิน และจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน 

หลังการขายฝากบ้านพร้อมที่ดิน คุณจะได้รับเงินก้อนตามที่เขียนไว้ในสัญญา หลังจากนั้นให้คุณจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ซื้อฝากที่ดิน จนกว่าจะไถ่ถอนที่ดินคืนได้  

ทำความรู้จักกับการ ขายฝากบ้านพร้อมที่ดิน  

อีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญ ในการทำนิติกรรมขายฝากบ้านพร้อมที่ดิน ก็คือสัญญาขายฝากที่ดิน ซึ่งเป็นสิ่งที่กำหนดรายละเอียดต่าง ๆ  ในการทำนิติกรรมในครั้งนี้ โดยรายละเอียดที่จะต้องมีในสัญญาขายฝากที่ดิน ได้แก่ 

  • ชื่อจริง-นามสกุล ที่อยู่ของทั้งผู้ขายฝากที่ดินและผู้รับซื้อฝาก 
  • รายละเอียดของที่ดิน ที่จะทำการขายฝาก เช่น ขนาดที่ดิน ตำแหน่งของที่ดิน เป็นต้น  
  • ราคาขายฝากที่ตกลงกันทั้ง 2 ฝ่าย จะรวมไปถึงดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายต่อปี 
  • ราคาค่าไถ่ถอนที่ดิน 
  • วันครบกำหนดที่สามารถไถ่ถอนได้ ของนิติกรรม ขายฝากบ้านพร้อมที่ดิน 

ข้อควรระวังในการทำสัญญาขายฝากที่ดิน 

ก่อนทำสัญญาขายฝากบ้านพร้อมที่ดิน คุณจะต้องอ่านสัญญาโดยละเอียด และพิจารณาให้ชัดเจนกระจ่างใจว่า ข้อตกลงนี้เป็นไปตามที่ตกลงกันหรือไม่ นอกจากนี้หลังทำสัญญาขายฝากที่ดินแล้ว สิ่งที่คุณต้องรู้คือ ที่ดินจะกลายเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับซื้อฝากทันที ให้คุณต้องพิจารณารายละเอียดให้ถี่ถ้วน  

  • ดอกเบี้ยที่คุณต้องจ่าย คิดเป็นเท่าไหร่ต่อปี แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้นดอกเบี้ยจะต้องไม่เกิน 15% ต่อปี และถ้ารายละเอียดคิดออกมาเป็นรายเดือน ให้คำนวณเป็นรายปีก่อน 
  • ช่องทางการชำระดอกเบี้ย มีช่องทางที่คุณสะดวกหรือไม่ 

วงเงินที่คุณได้รับ เป็นจำนวนเงินในที่เหมาะสมหรือไม่ และคิดราคาจากการประเมินแบบใด ระยะเวลาที่กำหนดในการไถ่ถอน คือกี่ปี อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่มีการกำหนดไว้ไม่ต่ำกว่า 1 ปี และสูงสุดไม่เกิน 10 ปี